ประวัติโรงเรียน

เพื่อความรู้ความเข้าใจ เกิดความภูมิใจและรักผูกพันในสถาบัน

สุภาพบุรุษทวีธา โรงเรียนทวีธาภิเศก

ทวีธาภิเศกคือบ้านหลังที่สองของนักเรียนทุกคน การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของโรงเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจเกิดความภาคภูมิใจและรักผูกพันในสถาบัน อันจะเป็นแรงบันดาลใจให้นักเรียนทุกคนมุ่งพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างสรรค์สิ่งทีดีงามให้เกิดกับสถาบันอันเป็นที่รักของเราและช่วยกันเผยแพร่ชื่อเสียงที่ดีงามของโรงเรียนทวีธาภิเศกให้เกริกไกรสมดังพระราชหฤทัยที่สมเด็จพระปิยมหาราชพระราชทานให้พวกเรา

โรงเรียนทวีธาภิเศก เป็นโรงเรียนซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานกำเนิดเนื่องในงานพระราชกุศลทวีธาภิเศกที่พระองค์ครองราชย์สมบัติมานานเป็นสองเท่าของพระบรมอัยกาธิราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

ในปีพ.ศ. 2438 โรงเรียนวัดอรุณราชวรารามที่ได้เปิดทำการสอนอยู่ แล้ว ณ ศาลาต้นจันทน์ ภายในวัดอรุณราชวราราม โดยมีพระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพชร) เป็นครูใหญ่ ทำการสอนตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 4 มีจำนวน 5 ห้องเรียนคือชั้น 1 ชั้น 2 ชั้น 3 ชั้น 4 ก และชั้น 4 ข มีนักเรียนทั้งสิ้น 162 คน ครู 6 คน

ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้บ้านชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดแล้วลุกลามมาถึงกุฏิภายในวัด เกือบไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องเสด็จมาทรงบัญชาการดับไฟ เพราะทรงเกรงว่าไฟจะลุกลามไหม้ไปถึงพระอุโบสถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสรีรางคารของสมเด็จพระอัยกาธิราชเจ้าของพระองค์

ในปี พ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธีทวีธาภิเศกเป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 17 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 โดยวันที่ 17 -18 กรกฎาคม 2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธี ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย และวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกอบพระราชพิธี ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวโรกาสที่ทรงครองราชย์เป็นสองเท่าของพระอัยกาธิราชหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้ทรงพระราชทานเหรียญทวีธาภิเศกแก่ผู้ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ซึ่งได้เงินจำนวนเงินทั้งหมด 33,484 บาท 30 อัฐ

ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2441 พระองค์เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคโดยเรือกอนโดล่า 6 แจว มายังวัดอรุณราชวราราม แล้วได้เสด็จพระดำเนินไปทั่วบริเวณวัด และได้ทอดพระเนตรกุฏิที่ถูกไฟไหม้ร้างอยู่ทางทิศเหนือของพระอุโบสถ จึงทรงรับสั่งกับพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นปราบปรปักษ์ว่า “…กุฎีแถวเหล่านี้ไม่มีประโยชน์แล้ว ทิ้งไว้ก็สำหรับจะทรุดโทรมไปเท่านั้น ควรแปลงให้เปนโรงเรียนสำหรับอารามนี้สักแห่งหนึ่ง ……” อันเป็นปฐมบรมราชโองการในการพระราชทานกำเนิดโรงเรียนทวีธาภิเศก และได้ทรงโปรดให้พระวรวง์เธอกรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการก่อสร้างโรงเรียนทวีธาภิเศก แต่ต่อมากรมหมื่นปราบปรปักษ์ได้ถึงชีพิตักสัยก่อนที่อาคารจะเสร็จ จึงโปรดให้กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิธาดารับเป็นแม่กอง และต่อมาได้โปรดเกล้าให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองการก่อสร้าง จนการก่อสร้างสำเร็จในปี พ.ศ 2445

สิงหาคม พ.ศ.2445 - 19 มิถุนายน พ.ศ.2450
ขุนอุปการศิลปเสรฐ (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) (พระครูธรรมรักขิต)

พระครูธรรมรักขิต (สัมฤทธิ์ ลอยเพ็ชร) ภายหลังลาสิกขาและเป็น ขุนอุปการศิลปเสรฐ ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนทวีธาภิเศก

21 มิถุนายน พ.ศ.2450 – พ.ศ.2454
นายพร้อม

นายพร้อม (ไม่ทราบสนามสกุล) เข้ารับตําแหน่งครูใหญ่ โรงเรียนทวีธาภิเศก ต่อจากขุนอุปการศิลปเสรฐที่ถึงแก่กรรม

พ.ศ. 2454 – 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454
พระบรรเจิดวิชาชาญ (นายชม บุณยาคม)

มาเป็นครูใหญ่แทนนายพร้อม ซึ่งย้ายไปรับราชการที่มณฑลอุดร

10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 – 30 ตุลาคม พ.ศ. 2459
ขุนดรุณวิทย์วรเสษฐ (นายยง ศิลปะคุปต์)

มาเป็นครูใหญ่แทนนายชาญ บุญญาคง ซึ่งย้ายไปรับราชการที่มณฑลนครสวรรค์

31 ตุลาคม พ.ศ. 2459 – 1 สิงหาคม พ.ศ.2491
ขุนวิสิฐดรุณกล (นายบุปผา พลายะสูต)

มาเป็นครูใหญ่แทนนายยง ศิลปะคุปต์ซึ่งย้ายไปรับราชการที่มณฑลมหาราษฎร์

2 สิงหาคม พ.ศ. 2491 – 30 กันยายน พ.ศ. 2508
นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ

เป็นอาจารย์ใหญ่แทนขุนวิสิฐดรุณกลซึ่งถึงแก่กรรมในสมัยที่นายวรสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้เสนอไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ให้ย้ายโรงเรียนเดิมมาอยู่ ณ วัดนาคกลาง โดยการเช่าที่ของวัด เนื่องจากมีเนื้อที่มากกว่าคือ 11 ไร่ 3 งาน 3 ตาราง

  • พ.ศ. 2493 ได้ของบประมาณ จำนวน 500,000 บาท สำหรับสร้างอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง จำนวน 16 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2494 ย้ายนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายมาเรียนที่อาคารหลังใหม่ ส่วนชั้นมัธยมตอนต้นยังเรียนที่เดิม
  • พ.ศ. 2495 – 2496 ได้งบสร้างอาคารไม้ 2 ชั้น จำนวน 8 ห้องเรียนอีก 2 หลัง
  • พ.ศ. 2503 ย้ายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มาเรียนที่แห่งใหม่นี้ ส่วนที่วัดอรุณราชวรารามยกให้กรมสามัญศึกษาเปิดสอนในระดับประถมศึกษา
1 ตุลาคม พ.ศ. 2508- 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
นายเรวัต ชื่นสำราญ

ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก ได้งบประมาณสร้างตึก 4 ชั้น 18 ห้องเรียน 1 หลัง ทำพิธีเปิดเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธี ได้ประทานชื่อตึกหลังนี้ว่า  “ตึกพิทยลาภพฤฒิธาดา” 

1 ตุลาคม พ.ศ. 2517 – 30 กันยายน พ.ศ. 2522
นายสำเริง นิลประดิษฐ์

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ทำการพัฒนาโรงเรียนพร้อมกันไปทุกๆด้าน จนทำให้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงโรงเรียนหนึ่งของกรมสามัญศึกษา

  • พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2520 ได้งบประมาณสร้างตึก 1 หลัง คือตึกสุรชัยรณรงค์ เป็นตึกสูง 6 ชั้น จำนวน 35 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2521 ได้งบประมาณสร้างตึกอเนกประสงค์อีก 1 หลัง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527
นายจงกล เมธาจารย์

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ทำการพัฒนาโรงเรียนพร้อมกันไปทุกๆด้าน จนทำให้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงโรงเรียนหนึ่งของกรมสามัญศึกษา

  • พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2520 ได้งบประมาณสร้างตึก 1 หลัง คือตึกสุรชัยรณรงค์ เป็นตึกสูง 6 ชั้น จำนวน 35 ห้องเรียน
  • พ.ศ. 2521 ได้งบประมาณสร้างตึกอเนกประสงค์อีก 1 หลัง
3 พฤศจิกายน 2527 – 28 มิถุนายน 2531
นายสุชาติ ไชยมะโน

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ         ได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้ปกครองและครูทวีธาภิเศก จัดซื้อและสร้างห้องคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษาทางประเทศ ขนาด 36 บูท

  • ปรับปรุงสนามฟุตบอลและสนามบาสเกตบอล
  • พ.ศ. 2531 ได้งบประมาณสร้างอาคารพิเศษ 4 ชั้น  (อาคาร 5) ชั้น 4 จัดเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่                       
  • 29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532 นายสำราญ รัตนวิทย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
  •  เป็นผู้ที่ตั้งคำขวัญว่า “ลูกทวีธามีศักดิ์ศรี มีน้ำใจ มีคุณธรรม”  
  • ปรับปรุงสนามฟุตบอล และจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มอีก 10 เครื่อง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2538
นายกนก จันทร์ขจร

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้พัฒนาโรงเรียนจนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนมัธยมดีเด่นขนาดใหญ่ของกรมสามัญศึกษา

  • ปีการศึกษา 2533 ได้ปรับปรุงอาคาร 5 โดยให้ชั้นล่างของอาคารเป็นสำนักงานฝ่าย 
  • ชั้น 4 ของอาคาร 5 ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจาก พล.อ. สุจินดา คราประยูร ซึ่งเป็นศิษย์เก่า ขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ปรับปรุงห้องประชุมพร้อมอุปกรณ์ และได้ขออนุญาตตั้งชื่อว่า “ห้องประชุม พล.อ.สุจินดา คราประยูร” 
  • โรงเรียนได้ปรับปรุงย้ายศาลพระภูมิเจ้าที่ อนุสาวรีย์พ่อขุนสุรชัย สร้างซุ้มพระพุทธรูป “พระพุทธทวีธาภิเศกมหามงคล (ไว้ทางเข้าประตูโรงเรียน)  และ “พระพุทธทวีธาภิเศกสวัสดิ์มงคล  (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน)
  • 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 นายประสาร อุตมางคบวร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียน
  •  นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการและพัฒนาการศึกษา  โรงเรียนจึงจัดให้มีการประชุมบุคลากรหลักของโรงเรียน กำหนดวิสัยทัศน์ เพื่อการ
  • พัฒนาโรงเรียนในระยะ 5 ปี และได้ทำการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นในโรงเรียนจนเจริญก้าวหน้ามาถึงระดับหนึ่ง
24 ธันวาคม พ.ศ. 2541- 30 กันยายน พ.ศ. 2544
นายสุธน จุลโมกข์

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่สักการะและเป็นมิ่งแก่ชาวทวีธาภิเศกทุกคน และท่านยังได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก ได้พัฒนาโรงเรียนให้เกิดความร่มรื่น เป็นระเบียบเรียบร้อยและสวยงามขึ้น ดังนี้

  • ปรับปรุงทางเท้ารอบสนามฟุตบอล
  • จัดซื้อศาลาเรือนไทย ตั้งไว้รอบบริเวณโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนและผู้ปกครองใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อน
  • ปลูกต้นไม้ยืนต้นที่ให้ความร่มเย็นแก่นักเรียนเพิ่มขึ้น
  • ปรับปรุงพื้นที่ลานปูนบริเวณด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ให้มีระดับเดียวกัน
  • สร้างเวทีกลางสนามและเสาธงใหม่ ปรับปรุงห้องดนตรีไทยและห้องดนตรีสากล
  • ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษา และปรับปรุงห้องมัลติมีเดีย
  • นอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาและเรื่องกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
26 ตุลาคม 2544 – 7 ตุลาคม 2547
นายสุวัฒน์ อ้นใจกล้า

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้ทำการปรับปรุงอาคารสถานที่ ซึ่งได้ชำรุดทรุดโทรมมากตามกาลเวลา ให้กลับมาอยู่ในสภาพที่ดีพร้อมที่จะใช้งานได้เหมือนเดิม เช่น

  • ปรับปรุงพื้นอาคารสุรชัยรณรงค์โดยการปูกระเบื้องทางเดินทั้งหมด
  • ปรับปรุงห้องน้ำของครูและนักเรียนที่ตึกสุรชัยรณรงค์ทุกชั้น
  • สร้างห้องศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระฯภาษาไทย
  • ปรับปรุงห้อง 246 ให้เป็นสำนักงานฝ่ายนโยบายและแผนงาน
  • ปรับปรุงห้อง 256 ให้เป็นห้องศูนย์ผลิตสื่อและเทคโนโลยี่
  • ปรับปรุงห้องปฏิบัติธรรม
  • ปรับปรุงชั้น 2 ของตึกสุรชัยฯให้เป็นห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
  • ปรับปรุงห้องพยาบาลปรับปรุงห้องเรียน ห้องพักครู
  • ปรับปรุงห้องโสตทัศนศึกษา
  • ปรับปรุงห้องประชาสัมพันธ์
  • ปรับปรุงห้องเรียนคณิตศาสตร์ทั้งหมด
  • ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
  • ปรับปรุงศูนย์การเรียนรู้กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
  • สร้างห้องเรียนสีเขียว
  • สร้างห้องสมุดวิทยาศาสตร์
  • ปรับปรุงห้องพักครูวิทยาศาสตร์
  • ปรับปรุงห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  • ปรับปรุงห้องเรียนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
  • จัดสวัสดิการร้านค้าสำหรับครูและนักเรียน
  • เปลี่ยนคำขวัญของโรงเรียนเป็น “รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ”
1 ตุลาคม 2547 – 29 ตุลาคม 2551
นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน

  • ได้ริเริ่มโครงการรักการอ่าน 
  • ริเริ่มให้มีบริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อฝ่ายวิชาการและงานห้องสมุดและงานต่างๆเพื่อให้บริการนักเรียนและครูอย่างทั่วถึง
  • ริเริ่มระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เยี่ยมบ้านนักเรียนและดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล
  • ริเริ่มเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน จัดห้องเรียน E-classroom , E- learning  และห้อง Multimedia บริการผลิตสื่อสำหรับครู
  • จัดศูนย์พัฒนาวิชาชีพครู จัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากร  จัดกิจกรรมเสวนาทางวิชาการทุกวันศุกร์
  • พัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่น ปรับปรุงสวนหย่อม ปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ทาสีอาคารเรียน
  • จัดทำศูนย์สารสนเทศนักเรียน พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
  • มีคำขวัญสำหรับสุภาพบุรุษทวีธาภิเศก “สุขภาพดี มีน้ำใจ  วินัยเยี่ยม เปี่ยมกตัญญู รู้รับผิดชอบ รอบคอบซื่อสัตย์ เคร่งครัดคุณธรรม”
  • โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทานในปีพุทธศักราช 2548
30 ตุลาคม 2550 – 30 กันยายน 2553
นางสุมนมาศ วุฒิสง่าธรรม

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ได้พัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆดังนี้

  • โรงเรียนมาตรฐานสู่สากล (World Class)
  • ได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนตัวอย่างความเป็นเลิศ วิทย์-คณิต
  • ปรับปรุงห้องศูนย์ปฏิบัติการ (Resource Center)
  • ปรับปรุงซ่อมแซมโรงอาหาร
  • ปรับปรุงห้องประชุมเพชรดอกแก้ว และห้องโสตทัศนศึกษา
  • จัดทำห้องพิพิธภัณฑ์
  • ปรับปรุงและพัฒนาห้องวาการ
  • ปรับปรุงห้องพัฒนาวิชาการ
  • ดำเนินการโครงการสุภาพบุรุษทวีธา
26 มกราคม 2554- 19 พฤศจิกายน 2556
นายสมเกียรติ เจริญฉิม

ผู้อำนวยการโรงเรียน ได้พัฒนาโรงเรียนหางบประมาณสนับสนุนและระดมทรัพยากรมูลค่ากว่า 7 ล้านบาท  จัดสร้างอาคารเรือนไทย จัดทำเสาธงใหม่ และปรับปรุงห้องน้ำนักเรียนเลิกขายเครื่องดื่มน้ำอัดลมและคาเฟอีน

23 ธันวาคม 2556 – 7 พฤศจิกายน 2557
นายชัยอนันต์ แก่นดี

ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ท่านมีนโยบายปรับปรุงโรงเรียนในด้านต่างๆดังนี้

  • ส่งเสริมความเป็นเลิศในด้านการศึกษา เพื่อสู่ลำดับต้นๆของประเทศ
  • ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมความซื่อสัตย์ การเป็นพลเมืองดีของนักเรียนต่อสังคมและประเทศชาติ
  • ส่งเสริมนักเรียนให้ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆภายในโรงเรียนทุกกิจกรรม ส่งเสริมกิจกรรมให้นักเรียนออกไปสัมพันธ์กับชุมชนให้มากที่สุด เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่นักเรียนอันจะเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่ดีงามถูกต้องทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  • มุ่งประสานความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์ปัจจุบันกับศิษย์เก่า
  • เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่นักเรียนในการที่จะพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้มีประสิทธิภาพโดยการได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในทุกวิชา มีการนำความรู้ไปพัฒนาต่อยอดบูรณาการกับวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อต้อนรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีคุณภาพของเด็กไทย
  • มีการส่งเสริมให้นักเรียนระดับชั้น ม.ต้นทุกคน สอบธรรมะศึกษาและส่งเสริมให้คุณครูสอบด้วย นับเป็นมิติใหม่ในการส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่ผู้บริหารทุกคนทั่วประเทศควรให้ความสำคัญ หากชาวพุทธทุกคนเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริงและปฏิบัติตามคำสอนนั้นอย่างจริงใจ ปัญหาสังคมต่างๆจะลดน้อยถอยลง เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด
8 มกราคม 2558 – 6 กุมภาพันธ์ 2560
นายชัยสิทธิ์ ดอนท้วม

1.  แผนพัฒนาโรงเรียน  ใช้นโยบาย 2 กระตุก

                    1.1 กระตุกยอดจำนวนนักเรียนที่มาสมัครเข้าเรียนได้จำนวนมากขึ้นเป็นที่น่าพอใจ สูงกว่ายอดจำนวนในระยะ 4-5 ปีที่ผ่านมา เหมาะสมกับการเป็นโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง โดยใช้วิธีประชาสัมพันธ์ให้เข้าใจ ออกนิเทศและติดตามผล

                    1.2กระตุกคุณภาพทางการศึกษา จัดสรรงบประมาณ ปรับปรุงระบบการปฏิบัติงาน และโครงสร้างการทำงานของกลุ่มบริหารงบประมาณให้มีความถูกต้อง เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ มีความยืดหยุ่น โปร่งใส ตรวจสอบได้ ระบบการเบิกจ่ายสะดวกรวดเร็วเมื่อผ่านกระบวนการที่ถูกต้องตามระเบียบพัสดุของทางราชการ

2. การพัฒนาด้านบุคลากร

                    2.1 กระตุ้นให้บุคลากรเกิดความรักและผูกพันต่อองค์กรและเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน บทบาทของผู้บริหาร บทบาทของครู ตามจรรยาบรรณในวิชาชีพ

                    2.2 รณรงค์การมาทำงานให้ตรงเวลา และปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบของทางราชการ

                    2.3 กระตุ้นให้ครูเข้าร่วมกิจกรรมภาคเช้าหน้าเสาธง และกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน          

                    2.4  กระตุ้นให้ครูกำกับดูแลเอาใจใส่นักเรียนตั้งแต่เช้าจรดเย็น ตามจุดต่างๆในบริเวณโรงเรียน เช่นการมาโรงเรียน การเข้าแถว การเข้าเรียน การแต่งกาย ยาเสพติด การทะเลาะวิวาท การทำลายทรัพย์สินของทางโรงเรียน ฯลฯ

                   2.5 ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย และการบริหารที่มีส่วนร่วมของบุคลากรภายในโรงเรียน

                    2.6 สร้างขวัญกำลังใจแก่ครู นักเรียนและครอบครัว ตลอดจนบุคลากรทุกฝ่าย

3. ด้านการบริหารทั่วไป

                    3.1 ปรับปรุงภูมิทัศน์ เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เช่น น้ำตก สวนหย่อม สวนแห่งธรรม สนามเปตอง

                   3.2 ปรับปรุงอาคารเรียน ศาลาไทย และปรับปรุงแหล่งเสื่อมโทรมของโรงเรียน

                   3.3 รณรงค์ความสะอาดในทุกพื้นที่ของโรงเรียน

                    3.4 ปรับปรุงห้องเรียนโครงการพิเศษ ห้องน้ำนักเรียนและครู ตลอดจนห้องพักครู

                    3.5 จัดซื้อโต๊ะ เก้าอี้นักเรียน ห้องเรียนโครงการพิเศษ

                    3.6 จัดทอดผ้าป่าการศึกษา เพื่อซื้อโต๊ะ เก้าอี้ในห้องเรียนทุกห้อง และเป็นสวัสดิการแก่นักเรียนและครูและบุคลากร

                    3.7 พัฒนาปรับปรุงเครื่องเสียงภายในห้องรียนเพื่อช่วยการสอนของครู

4. ด้านวิชาการ

                    4.1 จัดแข่งขันทางวิชาการ 120 ปี ทวีธาลีค โดย 8 กลุ่มสาระ เชิญโรงเรียนต่างๆมาร่วมแข่งขัน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์โรงเรียนและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนประถมกับทวีธาภิเศก

                    4.2 จัดอบรมสัมมนาครูและบุคลากร

                    4.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านวิชาการแก่นักเรียน โดยการจัดสอนเสริมในวันเสาร์

                    4.4 ส่งเสริมการรักการอ่าน

                    4.5 จัดโครงการครูสอนแบบติวเตอร์

                    4.6 ส่งเสริมการจัดนักเรียนไปแข่งขันนอกโรงเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มนักเรียนเก่ง และกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถทางกิจกรรม เช่น ดนตรี กีฬา ฯลฯ

                    4.7 ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยการจัดกิจกรรมค่านิยมของคนไทย 12 ประการ และกิจกรรมโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5

                    4.8 ส่งเสริมดนตรีและกีฬาให้กับนักเรียน

7 กุมภาพันธ์ 2560 – 22 พฤศจิกายน 2562
นายณรงค์ คงสมปราชญ์

นายณรงค์ คงสมปราชญ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562

นายณรงค์ คงสมปราชญ์ ได้ร่วมกับฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และองค์กรต่างๆที่สนับสนุนโรงเรียนทวีธาภิเศก ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนทวีธาภิเศกที่เป็นเลิศไว้ดังนี้

ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง (The Year of Change)

ปีที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เดินหน้าต่อไป (Move Forward)

ปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 สู่เป้าหมายปลายทาง (To the Target Destination)

          ตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก ท่านได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนทวีธาภิเศกในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการในด้านต่างๆ อาทิ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ โขนและดนตรีไทย ฯลฯ
  • การทำบันทึกความตกลงร่วมทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปรับโครงการงานกิจกรรมต่างๆที่สามารถพัฒนาผู้เรียน การศึกษา และโรงเรียนได้อย่างแท้จริง
  • การปรับปรุงและทาสีอาคารเรียนต่างๆ ได้แก่ อาคารพิทยลาภพฤฒิธาดา อาคารสุรชัยรณรงค์ อาคารเทพสิทธินายก อาคารปราบปรปักษ์
  • การปรับปรุงห้องนวมินทรานุสรณ์ (TP Digital Station)
  • การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์โรงเรียนทวีธาภิเศก
22 พฤศจิกายน 2562 - 10 ตุลาคม 2565
นายประจวบ อินทรโชติ

นายประจวบ อินทรโชติ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน

นายประจวบ อินทรโชติ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการบริหารโรงเรียนทวีธาภิเศกไว้ว่า “สถานศึกษาแห่งนวัตกรรม (School of Innovation)” โดยมีแนวทางการบริหารงานในการพัฒนาโรงเรียนทวีธาภิเศกในทุกๆด้านร่วมกับฝ่ายบริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และองค์กรต่างๆที่สนับสนุนโรงเรียนทวีธาภิเศก ดังต่อไปนี้

  1. เสริมสร้างจิตวิญญาณทวีธา “รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นำวิชาการ สืบสานงานพระราชดำริ”
  2. เสริมสร้างพัฒนานักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นบุคลากรที่เต็มไปด้วยความสามารถและคุณค่า
  3. มุ่งเน้นปฏิบัติให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในทุกด้าน
  4. โดดเด่นในความเป็นโรงเรียนที่ทันสมัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  5. สร้างความมีส่วนร่วมและร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนในการพัฒนาโรงเรียน
11 ตุลาคม 2565 - จนถึงปัจจุบัน
นายวีระเชษฐ์ ฮาดวิเศษ

นายวีระเชษฐ์ ฮาดวิเศษ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนทวีธาภิเศก เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงปัจจุบัน โดยบริหารงานภายใต้วิสัยทัศน์ "สถานศึกษาแห่งนวัตกรรมชั้นนำ สู่การเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนในทุกมิติ" (Leading innovative educational institutions to empower learners in all dimensions" ประสานความร่วมมือของฝ่ายบริหาร ครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า และองค์กรต่าง ๆ ที่สนับสนุนโรงเรียนทวีธาภิเศก 

เนื่องในโอกาสเพื่อเป็นที่ระลึกในวันสำคัญยิ่ง ได้มีการสร้างเหรียญที่ระลึกแจกพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายในเป็นที่ระลึก ด้วยเหตุนี้ทาง โรงเรียนทวีธาภิเศก จึงถือวันที่ 19  กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันทวีธาภิเศก” และ ใช้สัญลักษณ์ภาพเหมือนรูปเหรียญ ทวีธาภิเศก เป็นตราประจำโรงเรียน ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้ โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปี พ.ศ. 2503  ในปี พ.ศ. 2494 นายวรสิทธิ์ อินทาปัจ ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ได้ย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ บริเวณวัดนาคกลาง ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบันนี้โดยย้ายนักเรียนชั้นมัธยมปลายบางส่วนมาเรียน ในปี พ.ศ. 2503 เมื่อการก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จสมบูรณ์ จึงได้ย้ายนักเรียนทั้งหมดมาเรียน ส่วนอาคารเรียนหลังเดิม ณ วัดอรุณราชวรารามฯ กรมสามัญศึกษา ได้ทำการเปิดสอนในระดับประถมศึกษาชื่อว่า “โรงเรียนประถมทวีธาภิเศก”

cropped-Taweethapisek-Logo-768x721-1.png